สคร. 1 เชียงใหม่ เตือน พบสารหนูและตะกั่วในแม่น้ำกกเกินค่ามาตรฐาน
แพทย์หญิงเสาวนีย์ วิบุลสันติ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ กล่าวว่า สารที่เป็นธาตุกึ่งโลหะชนิดหนึ่งซึ่งเป็นอันตรายร้ายแรงต่อร่างกาย สามารถพบได้หลายรูปแบบ ทั้งรูปแบบโลหะ (Metallic arsenic) รูปแบบสารประกอบอนินทรีย์ (Inorganic arsenic) และรูปแบบสารประกอบอินทรีย์ (Organic arsenic) นอกจากนี้สารหนูยังมักพบได้ในแร่หลายชนิด เช่น ทองแดง นิเกิล เหล็ก โคบอลท์ ส่วนสารตะกั่ว (Lead) เป็นสารพิษโลหะหนักประเภทหนึ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ และพบได้ในชีวิตประจำวัน โดยมักใช้ในวงการอุตสาหกรรมและการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคหลายประเภท ในอีกแง่หนึ่ง สารตะกั่วก็มีความเป็นพิษสูงและเป็นอันตรายต่อร่างกาย หากสะสมในร่างกายเป็นปริมาณมาก อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางสติปัญญา และทำให้สมองได้รับความเสียหาย หากประชาชนสัมผัส หากสัมผัสสารหนูจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ผิวหนังลอก มีจุดดำที่ฝ่ามือ/ฝ่าเท้า อ่อนเพลีย ชาตามปลายมือปลายเท้า ผมร่วง เหงื่อออกมากผิดปกติ หากสัมผัสตะกั่ว ปวดศีรษะ เวียนหัว ความจำสั้น สมาธิสั้น อารมณ์แปรปรวน ปวดท้องโดยไม่ทราบสาเหตุ เด็กอาจมีพัฒนาการช้า เรียนรู้ช้า
แพทย์หญิงเสาวนีย์ กล่าวต่อว่า สำหรับประชาชนควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำจากแม่น้ำกกเพื่ออุปโภคบริโภค งดจับหรือกินปลาและสัตว์น้ำจากแม่น้ำกก หากมีอาการผิดปกติ ให้รีบพบแพทย์ทันทีและเฝ้าติดตามประกาศจากหน่วยงานรัฐอย่างใกล้ชิดหากมีข้อสงสัยปสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422