1. การดำเนินการทางวินัย
- พิจารณาเรื่องร้องเรียนกล่าวหา บัตรสนเท่ห์ และการร้องขอความเป็นธรรม พร้อมทั้งเสนอความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น เพื่อดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณาในเบื้องต้น
- จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง สอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรง หรือสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง
- ดำเนินการสืบสวนข้อเท็จจริง สอบสวนทางวินัยทั้งไม่ร้ายแรงและร้ายแรง โดยเข้าร่วมเป็นกรรมการสืบสวน/สอบสวน และสรุปรายงานการสืบสวน/สอบสวนในเรื่องดังกล่าวเพื่อเสนอต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ
- การตรวจสำนวนการสืบสวนข้อเท็จจริง การสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรง หรือการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง พร้อมเสนอความเห็นต่อผู้บังคับบัญชา
- จัดทำคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรงตามฐานความผิดและระดับโทษที่กรมควบคุมโรคเห็นชอบ
- จัดทำบันทึกเรื่องย่อเรื่องการดำเนินการทางวินัยอย่างร้ายแรงเสนอ อ.ก.พ.กรมควบคุมโรคเพื่อพิจารณาในเรื่องฐานความผิดและระดับโทษ
- ดำเนินการตามมติ อ.ก.พ.กรมควบคุมโรค โดยการจัดทำคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง/ไม่ร้ายแรง หรือยุติเรื่องแล้วแต่กรณี
- รายงานการดำเนินการทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรงและอย่างร้ายแรง เสนอ อ.ก.พ.กระทรวงสาธารณสุขเพื่อพิจารณา
- ดำเนินการตามมติ อ.ก.พ.กระทรวงสาธารณสุข
- รายงานการดำเนินการทางวินัยให้สำนักงาน ก.พ. เพื่อทราบ
- การสั่งให้ข้าราชการออกจากจากราชการตามมาตรา 110 ของพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 เช่น กรณีเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้โดยสม่ำเสมอ(มาตรา 110(1)), กรณีขาดคุณสมบัติทั่วไปหรือมีลักษณะต้องห้าม(มาตรา 110(2)), กรณีที่หย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการบกพร่องหรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ(มาตรา 110(6)) เป็นต้น
2. การอุทธรณ์
- รวบรวมข้อเท็จจริงข้อกฎหมายพยานหลักฐานเพื่อทำคำแก้อุทธรณ์
- จัดทำคำแก้อุทธรณ์ และคำแก้อุทธรณ์เพิ่มเติม ส่งให้คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม
- ดำเนินการตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม
- แจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมให้ อ.ก.พ.กระทรวงสาธารณสุขทราบ
3. การร้องทุกข์
- พิจารณาเรื่องร้องทุกข์พร้อมทั้งเสนอความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น
- ทำหนังสือแจ้งพร้อมทั้งส่งสำเนาคำร้องทุกข์ไปให้ผู้บังคับบัญชาที่เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ทราบ และให้ชี้แจงพร้อมส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องไปให้ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์ประกอบการพิจารณาภายใน 7 วันนับแต่วันได้รับหนังสือร้องทุกข์
- พิจารณาข้อเท็จจริง พยานหลักฐานจากคำร้องทุกข์ และคำชี้แจงของผู้บังคับบัญชาที่เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ เสนอความเห็นให้ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์พิจารณาสั่งการ
- ทำหนังสือแจ้งให้ผู้ร้องทุกข์และให้ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์ มีหนังสือแจ้งผู้บังคับบัญชาที่เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ทราบคำวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์(คำวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ให้เป็นที่สุด)
4. การดำเนินคดีปกครองเฉพาะ
(คดีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล, วินัย, การกระทำละเมิด)
- รวบรวมข้อเท็จจริงข้อกฎหมายพยานหลักฐานเพื่อทำคำแก้คำฟ้อง
- จัดทำคำแก้คำฟ้องและคำแก้คำฟ้องเพิ่มเติมส่งให้ศาลปกครอง
- ดำเนินการตามกระบวนการพิจารณาคดีปกครอง
- ดำเนินการตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครอง
5. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
- พิจารณาเรื่องเบื้องต้น(กรณีหน่วยงานต้นสังกัดรายงานความเสียหายมายังกรมควบคุมโรค) เสนอความเห็นตามลำดับชั้นเพื่อให้แต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง
- กรณีหน่วยงานต้นสังกัดแต่งตั้งคณะกรรมการสืบข้อเท็จจริงเบื้องต้นรอผลการสืบข้อเท็จจริง
- ตรวจสำนวนการสืบข้อเท็จจริง และเสนอความเห็นต่ออธิบดีกรมควบคุมโรควินิจฉัยสั่งการ
- กรณีความเสียหายไม่ได้เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ จะจัดทำหนังสือขอความเห็นชอบไปยังปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อพิจารณาว่าสมควรดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดหรือไม่
- กรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่าความเสียหายเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ จะจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด
- ดำเนินการสอบสวน โดยเข้าร่วมเป็นกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด และสรุปรายงานการสอบสวนพร้อมเสนอความเห็นในเรื่องดังกล่าวเสนอต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ
- ตรวจสำนวนการสอบสวน เสนอความเห็นว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่กระทำโดยจงใจ, ประมาทเลินเล่อ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่ โดยให้ยุติเรื่องหรือเรียกให้ชดใช้ค่าเสียหาย
- ส่งสำนวนการสอบสวนไปยังกระทรวงการคลังเพื่อตรวจสอบ(เว้นแต่เป็นเรื่องที่กระทรวงการคลังกำหนดว่าไม่ต้องรายงาน)
- ดำเนินการตามความเห็นของกระทรวงการคลัง ในกรณีเจ้าหน้าที่ต้องรับผิดจะต้องทำคำสั่งให้ผู้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามความเห็นของกระทรวงการคลัง และแจ้งสิทธิอุทธรณ์ให้ผู้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายทราบ(อุทธรณ์ต่อหน่วยงานที่ออกคำสั่ง และหากไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ก็มีสิทธิฟ้องศาลปกครองได้)
- ในกรณีที่ผู้รับผิดไม่ชดใช้ภายในเวลาที่กำหนด ต้องดำเนินการใช้มาตรการบังคับทางปกครองตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2539
- กรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่าความเสียหายไม่ได้เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ เกิดจากการกระทำของบุคคลภายนอก จัดทำความเห็นเสนออธิบดีกรมควบคุมโรคเพื่อส่งเรื่องให้อัยการฟ้องคดีแพ่งต่อบุคคลภายนอก
- กรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่าความเสียหายไม่ได้เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ แต่เกิดจากการกระทำส่วนตัว จัดทำความเห็นเสนออธิบดีกรมควบคุมโรค เพื่อเรียกให้ชดใช้ค่าเสียหายจากบุคคลดังกล่าว หากไม่ชดใช้เสนอความเห็นต่ออธิบดีกรมควบคุมโรคให้อัยการฟ้องคดีแพ่งต่อบุคคลภายนอก
- หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาเสนอความเห็นต่ออธิบดีกรมควบคุมโรค จัดทำหนังสือส่งไปให้อัยการเสนอต่อศาลออกหมายบังคับคดี
- ดำเนินการตรวจสอบทะเบียนราษฎร์ของจำเลยที่ถูกบังคับคดี
- ดำเนินการสืบหลักทรัพย์ของจำเลยที่ถูกบังคับคดี
- หากสืบพบหลักทรัพย์ก็จะทำการบังคับคดีโดยการยึด อายัด สิทธิ และทรัพย์สินของลูกหนี้
- หากจำเลยที่ถูกบังคับคดีมีหนี้สินมากกว่า ๑ ล้านบาท และพฤติการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา ๘ พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม จะดำเนินการเสนอความเห็นต่ออธิบดีกรมควบคุมโรค ส่งไปให้อัยการให้ฟ้องต่อศาลเป็นคดีล้มละลาย
- เมื่อดำเนินการสืบหลักทรัพย์ของจำเลยที่ถูกบังคับคดี ครบ ๑๐ ปี เสนอกระทรวงการคลังขออนุมัติจำหน่ายคดีตามคำพิพากษาที่สิ้นสุดระยะเวลาบังคับคดี
6. ผิดสัญญาชดใช้ทุน
- คิดคำนวณเงินทุน เงินเดือน และเงินอื่นๆที่ได้รับจากทางราชการซึ่งผู้ที่ทำสัญญาและผู้ค้ำประกันต้องชดใช้ พร้อมทั้งเบี้ยปรับ และดอกเบี้ยตามที่กำหนดในสัญญาและระเบียบนี้
- คิดคำนวณระยะเวลาที่ผู้ผิดสัญญาลาไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย ปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศและในประเทศ
- คิดคำนวณระยะเวลาที่ผู้ผิดสัญญาจะต้องรับราชการชดใช้ในกรณีการรับทุน การลาศึกษา และปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศและในประเทศ
- คิดคำนวณเงินทุน เงินเดือน และเงินอื่นๆที่ผู้ผิดสัญญาต้องชดใช้ต่อทางราชการซึ่งผู้ที่ทำสัญญาและผู้ค้ำประกันต้องชดใช้ พร้อมทั้งเบี้ยปรับ และดอกเบี้ยตามที่กำหนดในสัญญาและระเบียบนี้
- ทำหนังสือแจ้งให้ผู้ผิดสัญญาและผู้ค้ำประกัน มาชดใช้เงินภายใน 30 วัน
- ทำหนังสือแจ้งกองคลังให้รับชำระหนี้จากผู้ผิดสัญญาและผู้ค้ำประกัน ภายในเวลาที่กำหนด
- หากผู้ผิดสัญญาและผู้ค้ำประกัน มาชดใช้เงินภายในเวลาที่กำหนดให้กองคลังแจ้งเรื่องมายังกองการเจ้าหน้าที่
- หากผู้ผิดสัญญาต้องการผ่อนชำระเงิน ให้ดำเนินการทำสัญญาผ่อนชำระเงินโดยมีผู้ค้ำประกัน
- เมื่อรับเรื่องจากกองคลัง หากผู้ผิดสัญญาและผู้ค้ำประกันไม่มาชดใช้เงินดำเนินการทำหนังสือแจ้งเตือนให้ผู้ผิดสัญญาและผู้ค้ำประกันอีกครั้งหนึ่งโดยไม่ระบุเวลา
- หากผู้ผิดสัญญาและผู้ค้ำประกันมาชดใช้เงินเลยเวลาที่กำหนด ให้กองคลังแจ้งเรื่องมายังกองการเจ้าหน้าที่พร้อมเรียกดอกเบี้ยผิดนัด
- หากเลยกำหนดเวลา ๓๐ วันนับจากส่งหนังสือแจ้งเตือนครั้งที่ ๒ ให้ผู้ผิดสัญญาและผู้ค้ำประกันมาชำระหนี้ ดำเนินการส่งอัยการคดีปกครองเพื่อดำเนินการฟ้องคดี
- รายงานกระทรวงการคลังว่ามีผู้ผิดสัญญาชดใช้ทุน
- หากตามข้อ ๑๑ มีคำพิพากษา แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา เสนอความเห็นต่ออธิบดีกรมควบคุมโรค ส่งไปให้อัยการเสนอต่อศาลออกหมายบังคับคดี
- ดำเนินการตรวจสอบทะเบียนราษฎร์ของจำเลยที่ถูกบังคับคดี
- ดำเนินการสืบหลักทรัพย์ของจำเลยที่ถูกบังคับคดี
- หากสืบพบหลักทรัพย์ก็จะทำการบังคับคดีโดยการยึด อายัด สิทธิและทรัพย์สิน ของลูกหนี้
- หากจำเลยที่ถูกบังคับคดีมีหนี้สินมากกว่า ๑ ล้านบาท และพฤติการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา ๘ พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม จะดำเนินการ เสนอความเห็นต่ออธิบดีกรมควบคุมโรค ส่งไปให้อัยการให้ฟ้องต่อศาลเป็นคดีล้มละลาย
- เมื่อดำเนินการสืบหลักทรัพย์ของจำเลยที่ถูกบังคับคดี ครบ ๑๐ ปี เสนอกระทรวงการคลังขออนุมัติจำหน่ายคดีตามคำพิพากษาที่สิ้นสุดระยะเวลาบังคับคดี
7. การพิจารณาคำขอรับเงินเพิ่มพิเศษ
- ทำหนังสือถึงผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นเลขาของคณะกรรมการพิจารณาการเบิกจ่ายเงินเพิ่มพิเศษสำหรับแพทย์ฯเพื่อแจ้งเวียนคณะกรรมการ ขอความเห็นชอบการขอรับเงินเพิ่มพิเศษ
- จัดทำมติคณะกรรมการ แจ้งเวียนหนังสือและส่งมติคณะกรรมการให้คณะกรรมการ และหน่วยงานต้นสังกัดซึ่งรับสัญญา เพื่อใช้ประกอบการเบิกจ่าย
- หน่วยงานต้นสังกัดซึ่งรับสัญญา ส่งสัญญามาให้กลุ่มวินัย กรณีที่ผู้ทำสัญญาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ กลุ่มวินัยจะนำสัญญาให้อธิบดี เป็นผู้ลงนามรับสัญญา